วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

การกินปลาช่วยพัฒนาสมองเด็ก

เด็กต้องกินปลามากขึ้นในการพัฒนาสมองและเส้นประสาท โอเมก้า 3 ในสมองปลาช่วยในการพัฒนาเส้นประสาทและตา

หน้าที่ 1 - ประโยชน์ของ Omega 3 ในน้ำมันปลา


ไขมันกับชีวิตประจำวัน
-พลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวันประมาณ 2000 กิโลแคลอรี
-พลังงานจากไขมันไม่ควรเกิน 30% ของพลังงานทั้งหมดที่ร่างกายต้องการต่อวัน
ประเภทของไขมัน
·         ไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม
·         ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว เช่น   น้ำมันมะกอก คาโนล่าออยล์ -
·         ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน เช่น น้ำมันจากธัญพืชต่างๆ,น้ำมันจากปลาทะเลน้ำลึก ซึ่งจะมีกรดไขมันจำเป็น 2 ชนิด คือ กรดไขมันOmega-3 และ 6

กรดไขมัน Omega-3 มี 3 ชนิด

          Alpha-linolenic acid     ( ALA ) พบในน้ำมันจากธัญพืช
          Eicosapentaenoic acid  ( EPA ) พบใน ปลาทะเลน้ำลึก
          Docosahexaenoic acid   ( DHA ) พบใน ปลาทะเลน้ำลึก














Omega-3
 – กับพัฒนาการเด็ก

           พบมากในสมองและจอประสาทตา เกี่ยวข้องกับกระบวนการด้านความจำและพฤติกรรม
           สมอง(Cerebral Cortex)ของตัวอ่อนในครรภ์มี DHA เป็นองค์ประกอบมากถึง 15-20% และเป็นองค์ประกอบในจอประสาทตามากถึง 30-60%
           ป้องกันการคลอดก่อนกำหนดและทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
           การมีปริมาณกรดไขมัน Omega-3 ในสมองต่ำ ทำให้เป็นโรคสมาธิสั้นในเด็ก
           สตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับ Omega-3 ไม่เพียงพอ มีความเสี่ยงที่จะเกิดความดันโลหิตสูงขณะคลอด(Preclampsia) และมักมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด(Postpartum depression)
           นมแม่มี EPA สูงกว่านมผงดัดแปลงสำหรับเลี้ยงทารก 2.5 เท่า และมี DHA สูงกว่าถึง 30 เท่า


Omega 3 - 
กับสุขภาพหัวใจ

          ช่วยรักษาความยืดหยุ่นของผนังหลอดเลือด-ป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว
          ช่วยคลายกล้ามเนื้อเรียบของผนังหลอดเลือด มีผลลดความดันโลหิต(Promotion of nitric oxide induced endothelial relaxation)
          ช่วยรักษาจังหวะการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ
          ป้องกันการอักเสบของหลอดเลือดและป้องกันลิ่มเลือดจับกันเป็นก้อน

Omega 3 - ลดไขมันในเลือด
           ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
           การศึกษาของ Harris, William S. (American Journal of Clinical Nutrition,1997) คนไข้ 2800 คนได้รับ Omega-3 4-10 gm./day  พบว่า

                ไตรกลีเซอไรด์ลดลง               25-30%
            LDL ลดลง                             5-10 %
            HDL เพิ่มขึ้น                         1-3 %


Omega-3
 รักษาหอบหืด

           EPA ลดการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุทางเดินหายใจและลดการตอบสนองทางภูมิแพ้ ลดความรุนแรงและความถี่ของการเป็นหอบหืด
           ประสิทธิภาพการทำงานของปอด(วัดจาก Forced expiratory volume in 1 second-FEV1) เพิ่มขึ้น 23%หลังจากรับประทานน้ำมันปลาต่อเนื่อง เดือน


Omega-3
 ป้องกันโรคอัลไซส์เมอร์
           Omega-3 พบมากในสมอง ช่วยทำให้ผนังเซลล์สมองมีความอ่อนนุ่ม ในขณะที่ Omega-6 ทำให้ผนังเซลล์สมองแข็งตัว
           การที่ผนังเซลล์สมองอ่อนนุ่มทำให้ซีโรโตนิน ซึ่งทำหน้าที่เป็น messenger คอยสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทแต่ละเซลล์ทำงานได้ดีขึ้น

ชนิดของไขมันที่บริโภค มีผลต่อความจำ ความ สามารถในการคิดและเรียนรู้ในระยะยาว  ผู้ที่บริโภคกรดไขมันอิ่มตัว กรดไขมันOmega-6 จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์มากกว่าผู้ที่บริโภคกรดไขมัน Omega-3

Omega-3 – รักษาโรคซึมเศร้า จิตเภท
           EPA ในน้ำมันปลา มีบทบาทสำคัญในการรักษาโรคซึมเศร้า ช่วยทำให้ซีโรโตนินในสมองทำงานได้ดีขึ้น (กลไกการทำงานแบบเดียวกันกับยา Prozac ที่ใช้รักษาโรคทางจิตเวช)
           ช่วยให้อาการซึมเศร้า ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ ไม่มีอารมณ์ทางเพศนั้น อาการดีขึ้นมากกว่า 50%

Omega-3
 ป้องกันมะเร็ง
           ช่วยต่อต้านมะเร็งหลายชนิดในสัตว์ทดลอง เช่น มะเร็งเต้านม  มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งผิวหนัง มะเร็งตับอ่อน มะเร็งปอด
           การศึกษาด้วยแบบจำลองการเกิดมะเร็ง พบว่า การได้รับกรดไขมัน omega-3 จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งชนิดต่างๆ ตรงกันข้ามกับการได้รับกรดไขมัน omega-6 เพียงอย่างเดียว ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง


 

ทำไมต้องรับประทานน้ำมันปลา

§         ข้อจำกัดเรื่องปริมาณ
§         ปลาสดจากธรรมชาติอาจมีการปนเปื้อนของโลหะหนัก
§         ข้อจำกัดด้านรสชาติ กลิ่น กรรมวิธีการปรุง

สมาคมโรคหัวใจแนะนำสำหรับการรับประทาน
omega-3 fatty acids
  • แนะนำให้รับประทานปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ ครั้งโดยเฉพาะปลาที่มีไขมันสูง เช่น mackerel, lake trout, herring, sardines, albacore tuna and salmon
  • รับประทานถั่วหรือพืชที่มีไขมันชนิดนี้สูงได้แก่ soybeans, canola, walnut and flaxseed, and their oils



กลุ่มคน

คำแนะนำ

ผู้ที่ไม่มีโรคหัวใจ

รับประทานอาหารที่มีไขมัน omega สูงอย่างน้อยสัปดาห์ละ ครั้ง เช่นปลาที่มีไขมันสูง ถั่ว

ผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจ

แนะนำให้รับประทานปลาที่มีไขมันสูงโดยรับประทานประมาณวันละ 1 g of EPA+DHA

ผู้ที่มีไขมัน Triglycerideสูง

แนะนำให้รับประทานน้ำมันปลา 2-4 กรัมต่อวัน

แนวทางในการรับประทานอาหารที่มีไขมัน omega-3 fatty acidsสูง ได้แก่
  • รับประทานปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ ครั้ง
  • รับประทานอาหารที่มาจากธรรมชาติ
  • รับประทานผักและผลไม้ทุกวัน เพิ่มอาหารพวกถั่ว
  • รับประทานอาหารที่มี omega-3 fatty acids สูงได้แก่ปลา ผักใบเขียว ถั่วต่างๆ
  • ใช้น้ำมัน มะกอก and canola oil ในการปรุงอาหาร
  • ดื่มน้ำเปล่า หรือ ชาเขียว หรือไวน์แดง
  • หลีกเลี่ยงเนื้อแดง หนังสัตว์
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำด้วย Tran fatty acid ของทอดขบเคี้ยวต่าง ของทอดFast food, hard margarine
  • งดอาหารหวาน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น